วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561

การเขียนผังงานและซูโดโค้ด

ซูโดโค้ดและการเขียนผังงงาน

                                 ก่อนที่จะลงมือเขียนโปรแกรม ต้องออกแบบขั้นตอนการทำงาน หรืออัลกอริทึม (Algorithm) ก่อน ซึ่งเป็นเครื่องมือในการแสดงขั้นตอนการทำงานของระบบงานใด ๆ เพื่อให้การเขียนโปรแกรมเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น โดยเราจะเขียนอัลกอริทึมในลักษณะรหัสลำลองที่เรียกว่า ซูโดโค้ด (Pseudocode) หรือผังงาน (Flowchart) ก็ได้
1. ซูโดโค้ด (Pseudocode)

           เป็นคำอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม โดยใช้ถ้อยคำผสมระหว่างภาษาอังกฤษและภาษาการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง จะช่วยให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถพัฒนาขั้นตอนต่าง ๆ ให้เป็นโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ส่วนใหญ่มักใช้คำเฉพาะ (Reserve Word) ที่มีในภาษาการเขียนโปรแกรมและมักเขียนด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ ซูโดโค้ดที่ดี จะต้องมีความชัดเจน สั้น และได้ใจความ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ใช้จะถูกเขียนอยู่ในรูปของตัวแปร
ซูโดโค้ดแบบง่าย


วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

อนิเมะที่คุณควรจะต้องดู

การ์ตูนอนิเมะที่จะแนะนำ
1.โตเกียวกลู

2.ปรสิตเดรัจฉาน

3.ไฮสคูล D x D




วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561

จุดแข็งของอนิเมชั่นญี่ปุ่น

จุดแข็งของอนิเมชั่นญี่ปุ่นที่ทำให้เป็นที่นิยมออกไปนอกประเทศได้

ตัวละคร Original ของอนิเมะญี่ปุ่น จะมีความเป็นเอกลักษณ์ น่าจดจำกว่า และประเทศอื่นๆนั้นสามารถสร้างตัวละครออริจินอลที่ดังๆออกมาได้น้อย (ถ้าไม่นับอเมริกานะ)
เมื่อเทียบกันแล้ว การ์ตูนของฝั่งอเมริกา จะเน้นเรื่องตลกโครมคราม(นึกภาพ Tom & Jerry กับ Popeye) และเจาะเป้าหมายไปยังเด็กๆเท่านั้น แต่อนิเมะญี่ปุ่นจะมีธีมของเรื่อง และมีเนื่อเรื่องที่น่าติดตาม ทำให้สามารถดูกันได้ทั้งครอบครัว แม้แต่วัยรุ่นและวัยทำงานก็ให้ความสนใจในอนิเมะด้วย (หลังๆจะเห็นว่าทางฝั่งอเมริกาก็เริ่มซึมซับข้อดีด้านนี้มาแล้ว) 
แต่ละไตเติ้ลของอนิเมะญี่ปุ่นนั้นมีจำนวนตอนที่เยอะมาก (สมัยนั้น อย่างน้อยๆก็ 50 ตอน สำหรับฉายทั้งปี)  แถมยังมีทำหลายหลายรูปแบบสำหรับแต่ละช่วงอายุด้วย อีกทั้งคนเริ่มดูอนิเมะมาตั้งแต่ปี 80 และ 90 เมื่อคนในยุคนี้มีอายุมากขึ้น พวกเขาก็ยังดูอนิเมะต่อไปอยู่ดี ขนาดเวลาฉายอนิเมะ นั้นมีตั้งแต่ช่วงเช้า เย็น ไปจนถึงรอบดึกเลยทีเดียว